Skip to content
Home » Article » เมื่อผู้ได้รับผลกระทบ ‘โลกร้อน’ เข้าไม่ถึง ‘กองทุนภูมิอากาศสีเขียว’

เมื่อผู้ได้รับผลกระทบ ‘โลกร้อน’ เข้าไม่ถึง ‘กองทุนภูมิอากาศสีเขียว’

Green Climate Fund-GCF หรือกองทุนภูมิอากาศสีเขียว เป็นกองทุนที่เกิดจากการผลักดันของรัฐบาล, NGOs และ CSOs ในประเทศที่กำลังพัฒนาโดยเฉพาะกลุ่มประเทศที่ได้รับผลกระทบจากโลกร้อนเพื่อให้เกิดความเป็นธรรม ประเทศพัฒนาแล้วได้ระดมตั้งกองทุน GCF ทุนสนับสนุนโดยเงินให้เปล่าไม่ใช่เงินกู้ สนับสนุนทั่วโลกเป็นการใช้หนี้บาป นิ้คือข้อเรียกร้องเสนอผลักดันของภาคประชาชนในการประชุมโลกร้อนทุกครั้ง


ประะเทศไทยก็ได้รับการสนับสนุน 2 โครงการ เรื่องการปรับตัวของชาวนาและการจัดการน้ำ สนับสนุนผ่าน องค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน (GIZ) และสำนักงานโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) ดำเนินการโดย กรมการข้าวและกรมชลประทาน ผ่าน 2 หน่วยงานหลัก การดำเนินงานมา 2 โครงการ เกิดปัญหาว่า ขาดการรับรู้ของสังคมและขาดการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน และผู้ได้รับผลกระทบจากโลกร้อนเข้าไม่ถึงทุน


เงินทุนเป็นทุนให้เปล่าสำหรับผู้ได้ได้รับผลกระทบ แต่การดำเนินการรัฐบาลไทย กำลังจะสร้างหนี้ก้อนใหม่ให้ชาวนาผ่านโครงการนี้ ซ้ำยังเป็นการแก้ไขปัญหาที่ผิด และเป็นการซ้ำเติมปัญหาเก่า


มูลนิธิคนเพียงไพรภาคเหนือเฝ้าติดตามการดำเนินงานทั้ง 2 โครงการที่เกิดขึ้นในประเทศไทยมีแนวโน้มการดำเนินโครงการกำลังจะซ้ำรอยการดำเนินการของรัฐที่ล้มเหลว ขาดการมีส่วนร่วม ขาดธรรมาภิบาลและเป็นการสร้างและเพิ่มเติมปัญหาใหม่ นำสู่การทำลายศักยภาพของชุมชน ของชาวนา ของเกษตรกร ในการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิ


กลุ่มจับตาโลกร้อน ประเทศไทย (CWT) ร่วมกับ NGOs และองค์กรชาวบ้านในภาคเหนือตอนล่าง จัดการประชุมศึกษาดูงาน ออกแบบการติดตามประเมินผลของภาคประชาชนร่วมกับพี่น้องเอเชีย โดยมี NGOs และภาคประชาสังคมจากประเทศไทย 7 คน ร่วมระหว่างวันที่ 10-15 กุมภาพันธ์ 2568 ที่ประเทศเนปาล การจัดการโลกร้อนที่เป็นธรรม ต้องมีการสร้างธรรมาภิบาลและการมีส่วนร่วม และผู้ได้รับความเดือดร้อนจากโลกร้อน ต้องเข้าถึงได้ใช้เงิน GCF รัฐบาลไทยกำลังทำผิดแนวทางจะเป็นการสร้างหนี้ก้อนใหม่ให้ชาวนา ทั้งที่เป็นเงินชดเชยโลกร้อน


…บนเส้นทางผ่าน…ใกล้หลังคาโลก


เรื่อง: สาคร สงมา ภาพ: ปริญญา แทนวงษ์