Skip to content
Home » บทความ

บทความ

การแก้ไขปัญหาความขัดแย้งระหว่างคนกับช้างป่า ทำไมต้องกระจายอำนาจ

โดย ตาล วรรณกูล ศูนย์ศึกษาเรียนรู้ช้างป่าตะวันออกภายใต้การดำเนินงานโดย สมาคมนิเวศยั่งยืน ปัญหาความขัดแย้งระหว่างคนกับช้าง สร้างผลกระทบต่อชีวิตและทรัพย์สินของผู้คนทั้งในทวีปแอฟริกาและเอเชีย ผู้คนในเอเชียทั้ง 13 ประเทศที่มีช้างป่าเอเชีย เช่น อินเดีย จีน พม่า ลาว กัมพูชา มาเลเซีย และประเทศไทย ฯ ต่างได้รับผลกระทบจากช้างป่าที่ออกมาหากินนอกพื้นที่ป่าอนุรักษ์ ส่งผลกระทบต่อสภาพเศรษฐกิจและสังคมในพื้นที่ เนื่องจากช้างป่าเข้ามาหากินและทำลายพืชผลทางการเกษตรที่เป็นรายได้หลักของเกษตรกร เช่น ข้าว อ้อย ข้าวโพด ทุเรียน กล้วย ฯลฯ และยังส่งผลให้ประชาชนในบางพื้นที่เกิดความหวาดกลัว ไม่กล้าออกไปเก็บเกี่ยวพืชผลทางการเกษตร           นอกจากนี้ปรากฏการณ์ช้างป่าออกนอกพื้นที่ป่าอนุรักษ์ยังส่งผลให้ช้างป่าถูกตอบโต้กลับ จนช้างป่าบาดเจ็บและเสียชีวิตด้วยวิธีการต่าง ๆ เช่น การวางยาพิษในผลไม้ การยิงตอบโต้ ช้างป่าไฟฟ้าช็อตจากรั้วไฟฟ้า ฯ… Read More »การแก้ไขปัญหาความขัดแย้งระหว่างคนกับช้างป่า ทำไมต้องกระจายอำนาจ

วันป่าชุมชนแห่งชาติ

ภาพ : มติชน 24 พค. วันป่าชุมชนแห่งชาติ เป็นวันที่กรมป่าไม้ประกาศ โดยยึดถือจากวันที่พระราชบัญญัติป่าชุมชนประกาศใช้ เมื่อวันที่ 24 พค. 2562 แต่สำหรับขบวนการป่าชุมชน ที่เริ่ม่ก่อตัวตั้งแต่ชุมชนคัดค้านสัมปทานไม้ในภาคเหนือ นักพัฒนาเอกชน นักวิชาการที่ค้นพบวิถีการจัดการป่าของชุมชนว่าเป็นคำตอบทางนโยบายได้นั้น ขบวนการฯ น่าจะนับเอาเดือน ธันวาคม 2532 ที่ชุมชนบ้านห้วยแก้ว กิ่งอำเภอแม่ออน จังหวัดเชียงใหม่ (ภายหลังที่คัดค้านสัมปทานป่าไม้สำเร็จ) ได้ตัดสู้คัดค้านนายทุนเข้ามายึดพื้นที่ป่าของชุมชนของรัฐ และกำลังจะตัดทำลายป่า โดยการคัดค้านทำให้คุณครูในพื้นที่ คือ ครูนิต ไชยวรรณ ถูกยิงเสียชีวิต และผลจากการปกป้องป่า และมีรูปธรรมการจัดการป่าชุมชนที่ชัดเจน จนอดีตอธิบดีกรมป่าไม้ นายไพโรจน์ สุวรรณกร ได้ประกาศให้พื้นที่ป่าห้วยแก้ว เป็นป่าชุมชนแห่งแรกในประเทศไทย และนั่นเป็นปฐมบทของขบวนการเคลื่อนไหวป่าชุมชนของประชาชน จนนำมาสู่การยกร่าง… Read More »วันป่าชุมชนแห่งชาติ

ปัญหาป่าไม้ที่ดินวังน้ำเขียว การเมืองที่ไม่รู้จบ

ปัญหาแนวเขตป่าไม้ที่ดินที่ทับลานฯก็ปะทุอีกรอบ โดยกรมป่าไม้จับรีสอร์ตบุกรุกป่า แต่มีรายเดียวที่ยอมรับกับศาลว่าผิด เพื่อที่จะได้ผ่อนปรนขอสิทธิเช่าพื้นที่ แต่พื้นที่อุทยานฯ เช่าไม่ได้อยู่แล้ว ศาลจึงสั่งให้รื้อถอน ซึ่งอดีตอธิบดีกรมอุทยานฯ (แยกออกจากกรมป่าไม้มาดูแลพื้นที่ป่าอนุรักษ์) ก็ได้ไปทุบรีสอร์ทโชว์สื่อมวลชนเพื่อแสดงทางการเมือง

คนจนกับความเปราะบางทางสิ่งแวดล้อม

โดย ณัฐนนท์ นาคคง ณัฏฐภัทร์ สมบัติบุญ และธิติพัทธ์ เลิศชัย           การพัฒนาประเทศเป็นเรื่องของการใช้ทรัพยากร โดยผ่านกระบวนการผลิตและการขนส่งที่ปล่อยมลพิษสู่สิ่งแวดล้อม ก่อให้เกิดปัญหาสำคัญตามมาทั้งการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) ปัญหามลพิษทางอากาศ และอื่น ๆ แต่ผู้ที่ต้องแบกรับปัญหาเหล่านี้ไม่ใช่คนรวยที่ได้รับผลประโยชน์จาการพัฒนากลับเป็นคนที่ไร้ซึ่งอำนาจและมีฐานะยากจน           คนจนเป็นกลุ่มคนที่ใช้ชีวิตใกล้ชิดกับสภาพภูมิอากาศตามธรรมชาติ เมื่อสภาพอากาศเปลี่ยนแปลงเกษตรกรและแรงงานเกษตรเป็นกลุ่มแรกที่ต้องรับมือกับสภาพอากาศที่คาดไม่ได้ ทั้งภัยแล้ง น้ำท่วม โรคชนิดใหม่ และศัตรูพืช ที่ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของเกษตรกร ไม่ว่าจะเป็นสุขภาพหรือผลผลิตทางการเกษตร           เกษตรกรนาชะอัง จังหวัดชุมพร          “ฝนมันตกชุก ตกยาว มาไม่ตรงตามฤดูกาล แล้งก็แล้งยาว ร้อนจนอากาศแห้ง พืชเลยหยุดให้ผลผลิต”          “ผลกระทบจากปีหนึ่งส่งผลไปยังปีถัด ๆ ไป… Read More »คนจนกับความเปราะบางทางสิ่งแวดล้อม

ปรากฏการณ์ฝรั่งเตะหมอ

พิเชษฐ์ ปานดำ ปรากฏการณ์ฝรั่งเตะหมอ ณ ชายหาดหน้าวิลล่าหรูบ้านยามู ภูเก็ตตั้งแต่ปลายเดือนที่ผ่านมา ที่นำมาสู่ความไม่พออกพอใจของคนท้องถิ่น ส่งผลมาจนมาถึงนัดกันรวมตัวกันในวันนี้ ที่มีคนไหลเวียนตลอดทั้งวันจำนวนหลายพันคน ณ จุดเกิดเหตุ ที่กลายเป็นจุด check in ใหม่ของภูเก็ต เพื่อแสดงตัวและแสดงเจตจำนงร่วมกัน เพื่อทำความเข้าใจปรากฏการณ์นี้ จึงอยากแลกเปลี่ยนและชวนสนทนาในมุมมองของคนท้องถิ่น (Indigenous people) โดยมองย้อนกลับไปถึงต้นทางและพัฒนาการของการท่องเที่ยวในจังหวัดภูเก็ตและปริมณฑล ว่าสัมพันธ์และเชื่อมโยงกันอย่างไร การเริ่มต้นการท่องเที่ยวในภูเก็ต เกิดขึ้นราวปี พ.ศ. 2522 ที่เริ่มจากกลุ่มคนหนุ่มสาว และกลุ่มฮิปปี้ (hippy) คล้ายเป็นนักแสวงหาและนักผจญภัย มาเที่ยวและหาที่พัก ซึ่งเป็นเพียงบังกะโลขนาดเล็กของคนท้องถิ่น บริเวณหาดป่าตอง กะตะ กะรน ราไวย์ กลุ่มนักท่องเที่ยวกลุ่มนี้ ได้ให้ความหมายของสถานที่ท่องเที่ยวว่า “สวรรค์ของคนพลัดถิ่น” หลักหมายของการเริ่มต้นการท่องเที่ยวอย่างเป็นทางการเกิดขึ้นเมื่อปี… Read More »ปรากฏการณ์ฝรั่งเตะหมอ

ฝุ่น PM 2.5 มืดมัวปกคลุมทั่วท้องฟ้าแต่คนจนกลับมองไม่เห็น

โดย ณัฐนนท์ นาคคง ณัฏฐภัทร์ สมบัติบุญ และ ธิติพัทธ์ เลิศชัย           “คนจน” กลุ่มคนที่กระจายตัวอยู่ทั่วประเทศและมีหลากหลายอาชีพ โดยในเมืองจะเห็นคนจนได้จากการประกอบอาชีพอยู่ริมทาง เช่น หาบเร่ แผงลอย ขายอาหาร และรับจ้าง เป็นต้น ซึ่งต้องประสบกับปัญหาฝุ่นอย่างเลี่ยงไม่ได้           ความเข้าใจเกี่ยวกับปัญหาฝุ่น คนส่วนใหญ่มักมองว่ามีสาเหตุสำคัญมาจากการเผาไหม้ เช่น การเผาพื้นที่ทางเกษตร เผาขยะ การใช้ยานพาหนะที่มากเกินไป และสะสมเป็นของเสียสู่ชั้นบรรยากาศ ซึ่งเป็นความเข้าใจโดยทั่วไปที่คนสามารถสัมผัสได้ด้วยการมองเห็นและรับรู้จากข่าวสารบ้านเมือง แต่กับคนจนบางส่วนจากการสัมภาษณ์ในย่านรังสิตเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2567 ที่ผ่านมาพบว่ามีทั้งคนที่เข้าใจ แต่เข้าใจเพียงบางส่วน และคนที่ไม่เข้าใจเลย           พ่อค้าหาบเร่ แผงลอย           “ไม่รู้จัก pm 2.5… Read More »ฝุ่น PM 2.5 มืดมัวปกคลุมทั่วท้องฟ้าแต่คนจนกลับมองไม่เห็น

ป่าชุมชนทั่วประเทศเตรียมถูกผลักเข้าสู่ป่าคาร์บอนเครดิต

กรมป่าไม้จับมือกับภาคสังคมและเอกชนเตรียมผลักดันให้ป่าชุมชนทั่วประเทศ 6 ล้านไร่เข้าสู่โครงการคาร์บอนเครดิตเพื่อขายให้กลุ่มทุนไปชดเชยคาร์บอนของตนเอง โดยเมินเสียงวิจารณ์การฟอกเขียวจากประชาสังคมทั่วโลก เมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา มูลนิธิเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ภาคเหนือ ร่วมกับส่วนป่าชุมชนกรมป่าไม้ กรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและภาคีเอกชน จัดประชุมออนไลน์เรื่อง “โอกาสของป่าชุมชน คนดูแลป่า บนเส้นทางคาร์บอนเครดิต”           นางนันทนา บุณยานันต์ ผู้อำนวยการสำนักจัดการป่าชุมชน กรมป่าไม้ ได้เล่าว่า ป่าชุมชนจะเป็นจิ๊กซอว์ตัวสำคัญในการเพิ่มพื้นที่ป่าและพื้นที่สีเขียวร้อยละ 55 เพื่อดูดซับคาร์บอน เนื่องจากป่าไม้เป็นภาคส่วนเดียวที่ไม่ได้ปล่อยแต่ช่วยดูดกลับคาร์บอนที่ปล่อยออกมาจากภาคพลังงานและอุตสาหกรรม ทำให้เอกชนสนใจมาสนับสนุนการเพิ่มพื้นที่ป่า จึงอยากให้ป่าชุมชนทั้งหมดที่ขึ้นทะเบียนกับกรมป่าไม้ได้เข้าสู่โครงการคาร์บอนเครดิต ซึ่งขณะนี้กรมป่าไม้ก็ได้ออกระเบียบว่าด้วยการแบ่งปันคาร์บอนเครดิตจากการปลูก บำรุง อนุรักษ์ และฟื้นฟูป่าในพื้นที่ป่า พ.ศ.2564 ภายใต้ พรบ.ป่าชุมชน พ.ศ.2562 มาตรา 18 เรื่องการกำหนดระเบียบการใช้ประโยชน์จากไม้ ใช้ประโยชน์จากพื้นที่ป่าชุมชน โดยเชิญชวนว่า… Read More »ป่าชุมชนทั่วประเทศเตรียมถูกผลักเข้าสู่ป่าคาร์บอนเครดิต

ขยะพลาสติกทะเล เมื่อมนุษย์ทำร้ายธรรมชาติ มนุษย์ต้องกู้ธรรมชาติให้ได้

ร้อยละ 80 เกิดจากการรั่วไหลของขยะบนบก ขยะที่ลงแม่น้ำเจ้าพระยามาลงอ่าวไทย มาตรฐานจัดการขยะไทยมีแหล่งกำจัดมาตรฐานไม่ถึงร้อยละ 50 การรั่วไหลจึงมาก โดยเฉพาะโฟม พลาสติก ซึ่งไม่ย่อยสลาย แต่แตกสลายเป็นชิ้นเล็กปนเปื้อนนิเวศทะเล

นั่นคือคำบอกเล่าของภาคภูมิ วิธานติรวัฒน์ หรือพี่นก ผู้อำนวยการมูลนิธิอันดามัน จังหวัดตรัง ที่ทำงานบุกเบิกเรื่องการจัดการขยะทะเลมาตั้งแต่ปี 2561

ช้างป่า อันตรายนะ ต้องปลอดภัยไว้ก่อน

พฤติกรรมช้างป่าเมื่อพบกับคน ㆍ การเอียงหน้าเพ่งตามอง พร้อมกับการหยุดเคลื่อนไหว และใช้ปลายงวงวนเวียนอยู่บริเวณใบหน้า หมายถึง การพบสิ่งต้องสงสัย ลังเล ไม่แน่ใจㆍ การชูงวง ยกงวงโบกไปมา หมายถึง การดมหา เมื่อได้กลิ่นสิ่งแปลกปลอมㆍ การใช้งวงพ่นลม หมายถึง การไล่ เพราะรำคาญหรือไม่ชอบㆍ การเอางวงใส่ปากตัวเอง หมายถึง หวาดกลัวㆍ ปัสสาวะหรืออุจจาระราด หมายถึง หวาดกลัวสุดขีดㆍ การเตะดิน การกระทืบ หมายถึง การข่มขู่ㆍ หันหน้าเข้าหา หูกาง ยกตีนหน้าข้างหนึ่งรอ กล้ามเนื้อเกร็ง หมายถึง กำลังกำหนดทิศทางและประเมินภัยคุกคาม พร้อมจูโจมㆍ หูกาง หางชี้ ม้วนงวง วิ่งเข้าหาในลักษณะหัวเชิดขึ้น หมายถึง… Read More »ช้างป่า อันตรายนะ ต้องปลอดภัยไว้ก่อน

เสียงสะท้อนประชาชนต่อปัญหาโลกร้อน

เสียงสะท้อนประชาชนต่อปัญหาโลกร้อน เสียงที่รัฐ และกลุ่มทุนพลังงาน อุตสาหกรรม และนักธุรกิจคาร์บอนไม่เคย/ไม่อยากได้ยิน แต่หากจะกู้โลกร้อน ปกป้องนิเวศ คุ้มครองสิทธิในสิ่งแวดล้อมของประชาชน เราควรต้องฟัง สรุปจากเวทีกู้วิกฤติโลกเดือดด้วยประชาชน (COP28 ภาคประชาชน) 12 พฤศจิกายน 2566 ที่ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธรฯ