Skip to content
Home » ข้อเสนอ

ข้อเสนอ

เสียงNGOsไทยในการประชุม COP29: หลักการสำคัญในการแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศมักถูกตีกรอบว่าเป็นผลมาจากการพัฒนาอุตสาหกรรม อย่างไรก็ตาม ยืนยันว่าเป็นรูปแบบหนึ่งของการล่าอาณานิคมแบบใหม่ที่มีความซับซ้อน วิกฤตนี้มีรากฐานมาจากระบบประวัติศาสตร์โลก ประเทศทางเหนือคือยุโรปได้ตักตวงล้างผลาญทรัพยากรธรรมชาติจากประเทศทางใต้เอเชียเพื่อสร้างความมั่งคั่งให้กับประเทศในทวีปยุโรป ปัจจุบัน ชุมชนในในประเทศซีกโลกใต้ เอเชียกำลังเผชิญกับผลกระทบด้านสภาพภูมิอากาศอย่างหนัก น้ำท้วมฝนแล้งร้อน และอีกหลายรูปแบบ ประเทศในซีกโลกเหนือ ยุโรปยังคงขาดการปฏิบัติตามพันธกรณีและพันธกรณีของตน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในแง่ของการบรรเทาผลกระทบและสภาพภูมิอากาศ การเงิน ภายใต้หลักการความรับผิดชอบร่วมกันแต่มีความแตกต่างและความสามารถตามลำดับ มีการเสนอแนวทางแก้ไขหลายประการ แต่เราต้องถามว่า “นี่เป็นวิธีแก้ปัญหาที่ต้องการจริงหรือ? หรือเป็นการแก้ปัญหาที่ผิด?” การแก้ปัญหาที่ผิดพลาดมักมีไว้เพื่อหลีกหนีความรับผิดชอบและผู้แสวงหาผลประโยชน์ ส่งผลให้ทรัพยากรและเจตจำนงทางการเมืองหันเหไปจากการกระทำที่แท้จริง การแก้ปัญหาที่ให้ความสำคัญกับผลกำไรระยะสั้นและผลประโยชน์ขององค์กร ของประเทศพัฒนา ในขณะเดียวกันก็สร้างผลกระทบด้านลบที่ทำให้ผลกระทบต่อสภาพภูมิอากาศรุนแรงมากขึ้นหรือก่อให้เกิดความเสี่ยงใหม่ ๆ การแก้ปัญหาที่ผิดพลาดเหล่านี้ คือการสร้างความอยุติธรรมทางสังคม โดยเฉพาะกลุ่มคนชายขอบ และมักจะเกี่ยวข้องกับการอ้างการเพิ่มพื้นที่สีเขียว โดยนำเสนอตนเองว่าเป็นความยั่งยืนพร้อมทั้งปกปิดปัญหาที่เกิดขึ้นกรณี้เพิ่มพื้นที่ป่าในประเทศไทย การยึดพื้นที่ชุมชนในพื้นที่ป่าอนุรักษ์ จากผู้ถือครองสิทธตามจารีต สู่การเป็นผู้อาศัย วิธีแก้ปัญหาที่แท้จริงไม่ใช่การเปลี่ยนผ่านพลังเชื้อเพลิงจากฟอสซิสสู่พลังหมุนเวียน โดยยังคงรักษาโครงสร้างทางเศรษฐกิจผูกขาดภายในอำนาจทุนและเสรีนิยมใหม่ ตัวอย่างเช่น การเปลี่ยนจากถ่านหินไปเป็นพลังงานหมุนเวียนอาจฟังดูดี แต่เมื่อทรัพยากรเหล่านี้ยังคงอยู่ในมือของบรรษัท นักลงทุนรายใหญ่ และธนาคาร… Read More »เสียงNGOsไทยในการประชุม COP29: หลักการสำคัญในการแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

“ปลาหมอคางดำ” ความท้าทายของรัฐในการจัดการเอเลี่ยนสปีชีส์

ในพื้นที่จังหวัดสมุทรสงครามมีการซื้อขายปลาหมอคางดำเฉพาะในบ่อเลี้ยงสัตว์น้ำเท่านั้น แต่ในคลองธรรมชาติไม่มีการจับขาย ส่วนในพื้นที่สมุทรสาครเรือประมงอวนรุนสามารถจับในชายฝั่งได้มาก แต่เมื่อน้ำขึ้นปลาหมอคางดำก็ขึ้นมาในคลองธรรมชาติ ซึ่งหากทำตามข้อเสนอเมื่อ 7 ปีที่แล้ว ใช้เงินเพียง 100 ล้านบาทเท่านั้น ซึ่งตอนนี้อาจต้องใช้เงินมากกว่า 1,000 ล้านบาทถึงจะแก้ไขปัญหาได้ ซึ่งรัฐจะต้องเปิดเผยข้อเท็จจริง ไม่ใช่เพียงการปักป้ายถ่ายภาพแล้วบอกกับสังคมว่า “ปลาหมอคางดำหมดไปจากพื้นที่แล้ว” ปลาหมอคางดํา หรือ Blackchin tilapia จัดอยู่ในวงศ์ Cichlidae เช่นเดียวกับปลาหมอเทศ และปลาหมอสี ปลาชนิดนี้มีถิ่นกำเนิดในทวีปแอฟริกา อาศัยอยู่บริเวณพื้นที่น้ำกร่อยปากแม่น้ำ สามารถทนทานความเค็มได้สูง พวกมันจึงพบแพร่กระจายตลอดแนวชายฝั่งตะวันตกเฉียงเหนือของทวีป ที่ผ่านมา พบการนําเข้าพันธุ์ปลาหมอคางดําในหลายประเทศ ทั้งอเมริกา ยุโรป เอเชีย และพบมีรายงานการเป็นสัตว์น้ำต่างถิ่นรุกราน ในรัฐฟลอริดา สหรัฐอเมริกา และฟิลิปปินส์ สำหรับประเทศไทย ข้อมูลของ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ… Read More »“ปลาหมอคางดำ” ความท้าทายของรัฐในการจัดการเอเลี่ยนสปีชีส์

สคส. จี้ COP29 ล้มคาร์บอนเครดิทในไทย! เหตุเอื้อกลุ่มทุนปล่อยคาร์บอนกดทับสิทธิสิทธิมนุษยชน

สมัชชาองค์กรเอกชนด้านการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ หรือ สคส. แสดงจดหมายเปิดผนึก เรื่อง เวที COP29, ร่างพรบ.การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และการคัดค้านตลาดคาร์บอน คาร์บอนเครดิต ต่อผู้จัดเวที Conference of Parties to the United Nations Framework Convention on Climate Change (COP) ครั้งที่ 29 ณ เมืองบากู ประเทศอาร์เซอไบจัน โดยมีสารคำคัญต่อสถานการณ์นโยบายด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศทั้งในระดับโลกและประเทศไทยถูกครอบงำโดยกลุ่มทุนปล่อยคาร์บอนรายใหญ่ของโลกและของประเทศที่ไม่ต้องการรับผิดชอบลดการปล่อยคาร์บอนด้วยตนเองอย่างจริงจัง แต่ใช้การ “ฟอกเขียว” จากแนวทางการชดเชยคาร์บอน (Carbon offset) ซึ่งสคส.ยืนยันว่าแนวนโยบายของสหประชาชาติและรัฐไทยต้องอยู่บนหลักการ 1) สิทธิมนุษยชนและสิทธิชุมชน และความเป็นธรรมด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ 2)… Read More »สคส. จี้ COP29 ล้มคาร์บอนเครดิทในไทย! เหตุเอื้อกลุ่มทุนปล่อยคาร์บอนกดทับสิทธิสิทธิมนุษยชน

จี้รัฐบาลใหม่เร่งแก้ไขปัญหาผลกระทบเขื่อนน้ำชี เครือข่ายชาวบ้านเสนอทางออก 4 ข้อ-ยุติปลุกผีเขื่อนแก่งเสือเต้น

เมื่อวันที่ 2 กันยายน 2567 ที่วัดบ้านอีโก่ม ต.เทอดไทย อ.ทุ่งเขาหลวง จ.ร้อยเอ็ด เครือข่ายชาวบ้านลุ่มน้ำชีตอนล่าง จ.ร้อยเอ็ดและยโสธร กว่า 150 คน ได้จัดเวทีแลกเปลี่ยน “ส่องให้ซอดกระบวนการแก้ไขปัญหาเขื่อนน้ำชีจากอดีตถึงปัจจุบัน ข้อเสนอต่อรัฐบาลใหม่ และการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ” โดยได้มีการนำเสนอและแลกเปลี่ยนประเด็นปัญหาผลกระทบจากการสร้างเขื่อนในแม่น้ำชีตอนล่าง บทเรียนการจัดการน้ำขนาดใหญ่ของรัฐภายใต้โครงการโขง ชี มูล ที่ส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตของชุมชน สิ่งแวดล้อม ภายหลังการแลกเปลี่ยนตัวแทนเครือข่ายชาวบ้านลุ่มน้ำชีตอนล่างได้อ่านแถลงการณ์ ข้อเสนอต่อรัฐบาลใหม่เร่งแก้ไขปัญหาเขื่อนน้ำชีตอนล่าง-หยุดเขื่อนแก่งเสือเต้น  4 ข้อ ว่า  1.ให้รัฐบาลใหม่เร่งดำเนินการแก้ไขปัญหาเขื่อนร้อยเอ็ด เขื่อนยโสธร-พนมไพร แม่น้ำชีให้แล้วเสร็จเป็นรูปธรรม เพราะชาวบ้านในพื้นที่เรียกร้องสิทธิ์มา 16 ปีแล้ว  2.ให้รัฐบาลใหม่ยุติแนวคิดปลุกผีเขื่อนแก่งเสือเต้น ที่อาจจะไม่คุ้มค่าต่อการลงทุน 3.ให้รัฐบาลใหม่ทบทวนบทเรียนการจัดการน้ำที่ผ่านมา  4.ให้รัฐบาลให้สนับสนุนรูปแบบการจัดการน้ำขนาดเล็กที่เหมาะสมกับนิเวศและชุมชน นายสิริศักดิ์ สะดวก… Read More »จี้รัฐบาลใหม่เร่งแก้ไขปัญหาผลกระทบเขื่อนน้ำชี เครือข่ายชาวบ้านเสนอทางออก 4 ข้อ-ยุติปลุกผีเขื่อนแก่งเสือเต้น

เสียงสะท้อนจากประชาชนต่อนโยบายโลกร้อน

ประเทศไทยอยู่ในภาวะประสบภัยพิบัติทางธรรมชาติอยู่ลำดับต้นของโลก ที่จะเกิดความสูญเสียและเสียหายจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ร้อน แล้ง ฝนผิดฤดู ผลผลิตทางการเกษตรกรตกต่ำ และลดลงอย่างต่อเนื่อง น้ำท่วมในภาคเหนือตอนล่าง ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ดินโคลนถล่มอย่างต่อเนื่องในภาคเหนือตอนบน

ข้อเสนอ: ทิศทางการบริหารจัดการทรัพยากรฯโดยกระบวนการมีส่วนร่วม เสนอต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

ข้อเสนอ ทิศทางการบริหารจัดการทรัพยากรฯ โดยกระบวนการมีส่วนร่วม
และแผนงานความร่วมมือด้านสิ่งแวดล้อมเสนอต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เมื่อวันที่ ๒๑ สิงหาคม ๒๕๖๒

หยุด..ทำลายโลกใบนี้ ก้าว.สู่โลกที่ยั่งยืน ข้อเสนอต่อ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (นายวราวุธ ศิลปอาชา)

สมัชชาองค์กรเอกชนด้านการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ (สคส.) และองค์กรภาคีความร่วมมือ ได้ร่วมประชุมเพื่อประมวลสถานการณ์การขับเคลื่อนงานด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และพัฒนาข้อเสนอภาคประชาชน ระหว่างวันที่ ๒-๓ มีนาคม ๒๕๖๕ ณ โรงแรม เอเชีย แอร์พอร์ท จังหวัดปทุมธานี ซึ่งมีประเด็นข้อเสนอที่สำคัญ ๑๑ ประเด็น