ในปัจจุบัน “การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ” ได้กลายเป็นหนึ่งในปัญหาสิ่งแวดล้อมที่สำคัญที่สุดของโลก ซึ่งส่งผลกระทบทั้งต่อมนุษย์และสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ โดยเฉพาะสัตว์ป่า หนึ่งในนั้นคือ “ช้างป่า” สัตว์ขนาดใหญ่ที่มีบทบาทสำคัญในระบบนิเวศ แต่กลับต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงของถิ่นอาศัยเนื่องจากสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนไป ส่งผลให้เกิดความขัดแย้งระหว่างมนุษย์กับช้างป่ามากขึ้นเรื่อย ๆ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศส่งผลต่อระบบนิเวศอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ โดยเฉพาะในพื้นที่ป่าที่เป็นถิ่นที่อยู่อาศัยของช้างป่า อุณหภูมิที่สูงขึ้นและฤดูกาลที่แปรปรวน ทำให้พืชอาหารของช้างป่าเจริญเติบโตน้อยลง รวมทั้งแหล่งน้ำที่เคยอุดมสมบูรณ์ก็เริ่มแห้งเหือด ช้างป่าจึงจำเป็นต้องเคลื่อนย้ายออกจากป่าอนุรักษ์ ไปยังพื้นที่ชุมชนใกล้เคียงเพื่อแสวงหาอาหารและน้ำดื่ม รวมทั้งถิ่นที่อยู่อาศัยใหม่ จากข้อมูลทางวิชาการทั่วโลกสะท้อนให้เห็นตรงกันว่า การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศส่งผลให้ช้างป่าขยายพื้นที่หากินไกลขึ้นและกว้างขวางมากขึ้น ซึ่งเพิ่มความเสี่ยงต่อการพบเจอกับมนุษย์ในชุมชนใหม่ พื้นที่ใหม่ เมื่อทำนายบนการณ์คาดการณ์ที่โลกปล่อยคาร์บอนตามโมเดลการคาดการณ์ที่สภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง…
Continue Reading....Tag: โลกร้อน
เมื่อผู้ได้รับผลกระทบ ‘โลกร้อน’ เข้าไม่ถึง ‘กองทุนภูมิอากาศสีเขียว’
Green Climate Fund-GCF หรือกองทุนภูมิอากาศสีเขียว เป็นกองทุนที่เกิดจากการผลักดันของรัฐบาล, NGOs และ CSOs ในประเทศที่กำลังพัฒนาโดยเฉพาะกลุ่มประเทศที่ได้รับผลกระทบจากโลกร้อนเพื่อให้เกิดความเป็นธรรม ประเทศพัฒนาแล้วได้ระดมตั้งกองทุน GCF ทุนสนับสนุนโดยเงินให้เปล่าไม่ใช่เงินกู้ สนับสนุนทั่วโลกเป็นการใช้หนี้บาป นิ้คือข้อเรียกร้องเสนอผลักดันของภาคประชาชนในการประชุมโลกร้อนทุกครั้ง ประะเทศไทยก็ได้รับการสนับสนุน 2 โครงการ เรื่องการปรับตัวของชาวนาและการจัดการน้ำ สนับสนุนผ่าน องค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน (GIZ) และสำนักงานโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) ดำเนินการโดย กรมการข้าวและกรมชลประทาน…
Continue Reading....เสียงNGOsไทยในการประชุม COP29: หลักการสำคัญในการแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศมักถูกตีกรอบว่าเป็นผลมาจากการพัฒนาอุตสาหกรรม อย่างไรก็ตาม ยืนยันว่าเป็นรูปแบบหนึ่งของการล่าอาณานิคมแบบใหม่ที่มีความซับซ้อน วิกฤตนี้มีรากฐานมาจากระบบประวัติศาสตร์โลก ประเทศทางเหนือคือยุโรปได้ตักตวงล้างผลาญทรัพยากรธรรมชาติจากประเทศทางใต้เอเชียเพื่อสร้างความมั่งคั่งให้กับประเทศในทวีปยุโรป ปัจจุบัน ชุมชนในในประเทศซีกโลกใต้ เอเชียกำลังเผชิญกับผลกระทบด้านสภาพภูมิอากาศอย่างหนัก น้ำท้วมฝนแล้งร้อน และอีกหลายรูปแบบ ประเทศในซีกโลกเหนือ ยุโรปยังคงขาดการปฏิบัติตามพันธกรณีและพันธกรณีของตน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในแง่ของการบรรเทาผลกระทบและสภาพภูมิอากาศ การเงิน ภายใต้หลักการความรับผิดชอบร่วมกันแต่มีความแตกต่างและความสามารถตามลำดับ มีการเสนอแนวทางแก้ไขหลายประการ แต่เราต้องถามว่า “นี่เป็นวิธีแก้ปัญหาที่ต้องการจริงหรือ? หรือเป็นการแก้ปัญหาที่ผิด?” การแก้ปัญหาที่ผิดพลาดมักมีไว้เพื่อหลีกหนีความรับผิดชอบและผู้แสวงหาผลประโยชน์ ส่งผลให้ทรัพยากรและเจตจำนงทางการเมืองหันเหไปจากการกระทำที่แท้จริง การแก้ปัญหาที่ให้ความสำคัญกับผลกำไรระยะสั้นและผลประโยชน์ขององค์กร ของประเทศพัฒนา ในขณะเดียวกันก็สร้างผลกระทบด้านลบที่ทำให้ผลกระทบต่อสภาพภูมิอากาศรุนแรงมากขึ้นหรือก่อให้เกิดความเสี่ยงใหม่ ๆ…
Continue Reading....สคส. จี้ COP29 ล้มคาร์บอนเครดิทในไทย! เหตุเอื้อกลุ่มทุนปล่อยคาร์บอนกดทับสิทธิสิทธิมนุษยชน
สมัชชาองค์กรเอกชนด้านการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ หรือ สคส. แสดงจดหมายเปิดผนึก เรื่อง เวที COP29, ร่างพรบ.การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และการคัดค้านตลาดคาร์บอน คาร์บอนเครดิต ต่อผู้จัดเวที Conference of Parties to the United Nations Framework Convention on Climate Change (COP) ครั้งที่…
Continue Reading....