Skip to content
Home » Article » ช้างป่า อันตรายนะ ต้องปลอดภัยไว้ก่อน

ช้างป่า อันตรายนะ ต้องปลอดภัยไว้ก่อน

พฤติกรรมช้างป่าเมื่อพบกับคน

ㆍ การเอียงหน้าเพ่งตามอง พร้อมกับการหยุดเคลื่อนไหว และใช้ปลายงวงวนเวียนอยู่บริเวณใบหน้า หมายถึง การพบสิ่งต้องสงสัย ลังเล ไม่แน่ใจ
ㆍ การชูงวง ยกงวงโบกไปมา หมายถึง การดมหา เมื่อได้กลิ่นสิ่งแปลกปลอม
ㆍ การใช้งวงพ่นลม หมายถึง การไล่ เพราะรำคาญหรือไม่ชอบ
ㆍ การเอางวงใส่ปากตัวเอง หมายถึง หวาดกลัว
ㆍ ปัสสาวะหรืออุจจาระราด หมายถึง หวาดกลัวสุดขีด
ㆍ การเตะดิน การกระทืบ หมายถึง การข่มขู่
ㆍ หันหน้าเข้าหา หูกาง ยกตีนหน้าข้างหนึ่งรอ กล้ามเนื้อเกร็ง หมายถึง กำลังกำหนดทิศทางและประเมินภัยคุกคาม พร้อมจูโจม
ㆍ หูกาง หางชี้ ม้วนงวง วิ่งเข้าหาในลักษณะหัวเชิดขึ้น หมายถึง การปะทะ หรือสู้
ㆍ หันหลังวิ่ง หูกาง หางชี้ หมายถึง ตกใจกลัว วิ่งหนี
ㆍการหักต้นไม้ หรือกิ่งไม้เสียงดัง หมายถึง การเตือนหรือข่มขู่
ㆍ การขว้างไม้หรือก้อนหินหรือวัตถุอื่นใส่ หมายถึง การเตือน การไล่ หรือห้ามเข้าใกล้
ㆍกินหรือเดินปกติ โบกหูไปมา หมายถึง เฉย หรือไม่สนใจ

    ข้อควรปฏิบัติเมื่อพบช้างป่า

    ㆍเมื่อพบช้างป่าให้แจ้งเจ้าหน้าที่ทันทีที่ทำได้
    ㆍไม่ทำให้ช้างป่าตกใจ หงุดหงิด หรือไม่พอใจ
    ㆍไม่ทำร้ายหรือกลั่นแกล้งช้างป่า
    ㆍ ไม่หลอกล่อช้างป่าด้วยความคึกคะนอง
    ㆍ ไม่ควรให้อาหารช้างป่า
    ㆍเมื่อได้ยินเสียงกิ่งไม้หัก หรือมีก้อนหิน กิ่งไม้ และวัสดุอื่นตกลงใกล้ ๆ ตัว หรือได้ยินเสียงเป่าลม ให้ถอยออก
    จากพื้นที่ในทิศทางตรงกันข้ามโดยเร็ว
    ㆍ เมื่อจำเป็นต้องประกอบอาชีพในช่วงเวลากลางคืน เช่น กรีดยาง ควรมั่นส่องไฟฉายตรวจสอบรอบ ๆ พื้นที่ว่ามี
    ช้างป่าอยู่ใกล้ ๆ หรือไม่ หากมี ให้หยุดกิจกรรมและหลบเข้าที่กำบังที่ปลอดภัย
    ㆍเมื่อสุนัขมีอาการตื่นตกใจวิ่งมาหาคนให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่ามันหนีช้างป่มา ห้ามเข้าไปหาสุนัขเด็ดขาด ให้รีบ
    เข้าที่กำบังและไล่สุนัขไปทางอื่น
    ㆍห้ามตะโกนไล่ หรือร้องทักช้างป่า หรือจุดประทัด ยิงปืน หรือส่งเสียงดังใดใดขณะที่ช้างป่าเดินผ่าน เนื่องจาก
    จะทำให้ช้างป่าตกใจหรือเกิดอาการเครียดและหันไปทำลายสิ่งรอบตัวหรือทำร้ายคนได้
    ㆍ ควรหนีให้ห่างจากช้างป่าเมื่อสังเกตเห็นพฤติกรรมเหล่านี้ หันหน้าเพ่งตามอง หูกาง ยืนนิ่ง ยกขาหน้าข้างหนึ่ง
    ไว้รอ กล้ามเนื้อเกร็ง หางม้วน เก็บงวง เพราะเป็นอาการประเมินภัยคุกคามพร้อมจูโจม
    ㆍควรอยู่ห่างจากช้างป่ามากกว่า 50 เมตร

    ข้อควรปฏิบัติเพื่อลดความเสี่ยงและความเสียหายจากช้างป่า

    ㆍควรเก็บวัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ เครื่องมือ เครื่องใช้ เครื่องใช้ไฟฟ้า กล่อง ลัง โอ่ง ถังน้ำ ถังฉีดยา ปี๊บ สายยาง ปั้มน้ำ รถเข็น รถจักรยาน รถจักรยานยนต์ ฯลฯ เข้าในโรงเรือนหรือสร้างโรงเรือนครอบให้เรียบร้อย
    ㆍสิ่งของขนาดใหญ่ไม่ควรมีสิ่งปกคลุม ปกปิด เช่น รถยนต์ จักรยานยนต์ ฯลฯ เนื่องจากอาจเกิดความเสียหายได้เมื่อช้างป่าเข้ารื้อค้นหาอาหาร
    ㆍไม่ควรเก็บผลไม้หรือพืชที่เป็นอาหารช้างป่าไว้ในบริเวณที่อยู่อาศัยของคน เนื่องจากกลิ่นจะชักนำให้ช้างป่าเข้าไปค้นหา หรือหากจำเป็นก็ควรเก็บไว้ให้มิดชิด
    ㆍหลีกเลี่ยงการปลูกพืชที่เป็นอาหารของช้างป่าไว้ในบริเวณที่อยู่อาศัยของคน เช่น ปาล์มประดับ กล้วย อ้อย ขนุน มะม่วง หรือผลไม้ต่าง ๆ
    ㆍควรเก็บ ข้าวเปลือก ข้าวสาร เกลือ น้ำปลา ผงชูรส อาหารแปรรูปที่ทำจากแป้งและข้าว อาหารที่มีส่วนผสมของน้ำตาลและแร่ธาตุหรือเกลือ เช่น ขนมหวาน หรือขนมกรุบกรอบ ฯลฯ ไว้ในภาชนะที่มีฝาปิดมิดชิด
    ㆍ เมื่อมีช้างป่าเข้ามาในบริเวณบ้านเรือนควรส่งเสียงพูดคุยให้ช้างป่ารู้ว่าในบ้านมีคนอาศัยอยู่
    การทำสิ่งกีดขวางประเภทรั้ววดหนาม รั้วไฟฟ้าปศุสัตว์ ช้างป่าสามารถเรียนรู้ที่จะทำลายหรือข้ามผ่านไปให้ได้ ควรใช้ควบคู่กับไฟส่องสว่างและควรมีคนคอยเฝ้าระวังหรือคอยไล่
    ㆍ ควรเปลี่ยนช่วงเวลาในการประกอบอาชีพเพื่อหลีกเลี่ยงการเผชิญหน้ากับช้างป่า เช่น เคยออกไปกรีดยางพาราในเวลา 02.00 น. แต่มักจะพบเจอช้างป่ในช่วงเวลานั้น ควรเปลี่ยนไปกรีดยางในช่วงเวลาอื่น เป็นต้น
    ㆍหากทำได้ควรปรับเปลี่ยนการปลูกพืชที่เป็นอาหารของช้างป่าไปเป็นพืชที่ช้างป่าไม่กินเป็นอาหาร หรือกินน้อยที่สุด

    ข้อควรปฏิบัติเมื่อพบช้างป่าขณะใช้ยานพาหนะ

    รถจักรยานหรือรถจักรยานยนต์ เมื่อพบช้างป่าในระยะกระชั้นชิด ขณะเดินทางด้วยรถจักรยานหรือรถจักรยานยนต์ ให้รีบจอด และนอนรถจักรยานหรือรถจักรยานยนต์ตะแคงลงขวางทางไว้โดยไม่ต้องดับเครื่องยนต์ แล้วให้ถอยออกห่างจากช้างป่าในทิศทางตรงกันข้ามให้ไกลที่สุด พร้อมกับเข้าที่กำบังให้เร็วที่สุด

    รถยนต์ เมื่อพบช้างป่าขณะเดินทางด้วยรถยนต์ หากขับผ่านไปไม่ได้หรือถอยหนีไม่ได้ ให้จอดรถยนต์และนั่งอยู่เฉย ๆ ไม่ต้องดับเครื่องยนต์ รอจนกว่าช้างป่าจะเดินผ่านไปเอง ห้ามเร่งเครื่องยนต์ใส่ช้างป่าหรือกดแตร หรือส่งเสียงใด ๆ อันเป็นการดึงดูดความสนใจ หรือตกใจ หรือเกิดอาการเครียด เมื่อช้างป่าผ่านไประยะหนึ่งแล้วจึงค่อยขับรถออกไปอย่างช้า ๆ และระมัดระวัง

    ช้างป่าแบบไหนที่เป็นอันตราย

    ช้างป่ามักจะมีปฏิกิริยาที่แสดงออกมาตามสัญชาตญาณการป้องกันตัวเอง และสมาชิกในกลุ่มหรือในโขลง ส่วนใหญ่จะเกิดในช้างป่าเพศผู้วัยรุ่นหรือก่อนเต็มวัย ซึ่งเป็นช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อของการปรับเปลี่ยนสถานะทางสังคม ซึ่งช้างป่าเพศผู้วัยรุ่นที่เคยใช้ชีวิตอยู่ในโขลงที่มีช้างป่าเพศเมียคอยดูแล เมื่อถึงเวลาที่ต้องออกจากโขลงและไปอยู่ร่วมกับสังคมช้างป่าเพศผู้ตัวอื่นที่มีอายุและ ประสบการณ์มากกว่า ทำให้ช้างป่าวัยรุ่นนี้มักมีพฤติกรรมความอยากรู้อยากเห็น จึงทำให้เผชิญหน้ากับผู้คนบ่อย ๆ ในระหว่างการเดินทางไปกับช้างป่าพี่เลี้ยง และบ่อยครั้งที่พวกมันมักจะถูกคนใช้อาวุธทำร้าย ช้างป่าวัยรุ่นจะฝังใจกับความรุนแรงและความเจ็บปวด ถึงแม้ว่าในเหตุการณ์จะไม่ได้ถูกทำร้ายเองก็ตาม แต่ก็ทำให้ได้รับรู้ถึงอันตรายที่เกิดขึ้นร่วมกับสมาชิกในกลุ่มด้วยเช่น
    เดียวกัน
    เมื่อพวกมันโตขึ้นเข้าสู่ช่วงอายุใกล้เต็มวัย เป็นเวลาที่พวกมันจะต้องออกมาใช้ชีวิตตามลำพัง ซึ่งจากที่เคยอยู่ร่วมกับช้างป่าเพศผู้อาวุโสที่คอยควบคุมดูแล จึงยังไม่มีความมั่นใจที่จะใช้ชีวิตเช่นนั้น ดังนั้นเมื่อจำเป็นต้องเดินทางหากินตามลำพังพวกมันมักจะมีความหวาดระแวงค่อนข้างสูง พวกมันจะมีปฎิกิริยาตอบโต้เสมอเมื่อเผชิญกับ คน แสงไฟส่อง เสียงที่ดัง และการได้รับ
    ความเจ็บปวด นอกจากนั้นการสะสมความโกรธเคือง หรือหงุดหงิดเมื่อถูกกระทำ ช้างป่าก็มักจะหลบหนีไปและพบเจอกับบุคคลอื่นที่ไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์นั้นช้างป่าก็มักจะหันเข้าทำร้ายจนบาดเจ็บหรือถึงแก่ชีวิตด้วยเช่นกัน

    ดังนั้นช้างป่าที่เป็นอันตรายส่วนใหญ่มักเป็นช้างป่าเพศผู้วัยรุ่นและอยู่ในช่วงใกล้เต็มวัยที่ฝังใจกับเหตุการณ์อันเลวร้ายมาก่อน แต่ช้างป่าที่เป็นอันตรายอีกประการคือ ช้างป่าตกมัน โดยเฉพาะการตกมันในระยะที่ 3 ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่การตกมันรุนแรงที่สุด เนื่องจากจะมีอารมณ์ที่แปรปรวน คาดเดาได้ยาก และการตกมันแบบต่อมปิดที่มักจะสร้างความเจ็บปวดที่รุนแรงทำให้ช้างป่า
    หงุดหงิดรุ่นง่านไม่ต่างจากคนที่กำลังปวดฟันคุด

    จะรู้ได้อย่างไรว่ามีช้างป่าอยู่ในพื้นที่

    ร่องรอยการกินอาหาร ดูจากความสดใหม่ของเศษพืชอาหาร จะมีร่องรอยการหัก การดึง ตกระเกะระกะกระจัดกระจาย และการใช้แหล่งน้ำ จะปรากฏรอยตีนช้างป่าเหยียบย่ำ ดิน หญ้าหรือต้นไม้ขนาดเล็กบริเวณรอบ ๆ รวมถึงในแหล่งน้ำจะมีน้ำสีขุ่นมากกว่าปกติ

    รอยตีนช้างป่า ช้างป่าจะมีขนาด รอยตีนแตกต่างกันไปตามช่วงวัยรอยตีนหน้าจะเป็นรูปทรงค่อนข้างกลม ส่วนรอยตีนหลังจะเป็นทรงรี ทิศทางการเดินให้ดูจากรอยเล็บ
    ร่องรอยการถูตัว จะพบว่ามีดินหรือโคลนติดอยู่ตามต้นไม้ เสาปูนผนัง และกำแพง เป็นต้น ช้างป่าจะใช้สิ่งเหล่านี้เป็นที่ถูตัวเพื่อแก้อาการคัน โดยเฉพาะบริเวณสีข้าง
    ร่องรอยความเสียหาย เช่น สิ่งปลูกสร้าง รถยนต์ รถจักรยานยนต์ ถังน้ำ
    หรือวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในครัวเรือนหรือการเกษตรต่าง ๆ เป็นต้น ซึ่งช้างมักจะ
    ทำลายระหว่างพยายามค้นหาอาหาร
    กลิ่นสาบช้างป่า ช้างป่าจะทิ้งกลิ่นหญ้าหรือกลิ่นเหม็นเขียวไว้ในอากาศชั่ว
    ระยะเวลาหนึ่ง หากได้กลิ่นแสดงว่ามีช้างป่าอยู่ในพื้นที่หรือเพิ่งผ่านไปไม่นาน
    แต่หากได้กลิ่นคล้ายขี้ไก่แสดงว่าเป็นช้างป่าที่กำลังตกมัน
    แมลง ช้างป่าจะมีแมลงจำพวกเหลือบคอยรบกวนอยู่ตลอดเวลา เมื่อพบว่า
    ในพื้นที่ใดมีแมลงจำพวกเหลือบวนเวียนอยู่เป็นจำนวนมาก แสดงว่ามีช้างอยู่
    ในพื้นที่

    เสียงของช้างป่า

    โอกกกกกกก (ลากยาว) หมายถึง การแจ้งตำแหน่งของตัวเอง การเรียกช้างป่าตัวอื่นให้เข้าไปหา และการเรียกรวมของช้างป่าผู้นำโขลง
    ㆍ โอ๊ก (สั้น ๆ หมายถึง การบังคับ ข่มขู่ หรือไม่พอใจ
    ㆍ แปร๋นนน (ลากยาว) หมายถึง การตวาด หรือตกใจ มักพร้อมกับการวิ่งหนี หรือวิ่งไล่
    ㆍ แปรัน (สั้น) หมายถึง หมายถึง การตวาดช้างป่าตัวอื่น กรณีอยู่ในโขลง
    ㆍ เอ๊ก ๆ (คล้ายเสียงสุนัข หมายถึง ตื่นเต้น หวาดกลัว หงุดหงิด เรียกร้องความสนใจ มักมีอาการชูงวง หรือโยกตัว หรือวิ่งวนไป-มา
    ㆍ บ๊อง ๆ เป็นเสียงการใช้ปลายงวงฟาดกับพื้นดิน หมายถึง ไม่พอใจโมโห ข่มขู่ หรือบางครั้งเป็นลักษณะการใช้ปลายงวงฟาดเข้าไปที่ช้างป่าตัวอื่น อันเป็นการสั่งสอนหรือทำโทษ
    ㆍ ตือออออ (เสียงความถี่ต่ำ) หากว่าช้างป่าตั้งแต่ 2 ตัวขึ้นอยู่ด้วยกันหมายถึงการสื่อสารตอบโต้กัน แต่หากเป็นช้างป่าเพศผู้ครางในลำคอ พร้อมกับการแตะงวงกับพื้นดิน หมายถึง การขม เสียงความถี่ต่ำนี้คนจะสามารถได้ยินก็ต่อเมื่ออยู่ใกล้กับช้างในระยะน้อยกว่า 50 เมตร


    โครงการวิจัยและพัฒนาศักยภาพเครือข่ายชุมชน เพื่อการจัดการช้างป่าอย่างยั่งยืน ตำบลท่าตะเกียบ อำเภอท่าตะเกียบ จ.ฉะเชิงเทรา