Skip to content
Home » Article » บันทึกการประชุม: สรุปบทเรียนเครือข่ายองค์กรเอกชนด้านการคุ้มครองสิ่งแวดล้อม » Page 2

บันทึกการประชุม: สรุปบทเรียนเครือข่ายองค์กรเอกชนด้านการคุ้มครองสิ่งแวดล้อม

นายภาคภูมิ   วิธานติรวัฒน์   ประธานสมัชชาฯ  กล่าวชี้แจงที่ประชุมว่าก่อนที่จะมีการจัดเวทีในวันนี้ได้มีการประชุม สัมมนา เสวนาและพัฒนางานศึกษาแลกเปลี่ยนในแต่ละประเด็นมาหลายครั้งแล้ว ซึ่งสถานะของข้อเสนอ  ที่ได้แลกเปลี่ยนและวิเคราะห์ร่วมกันมาบ้างแล้ว และมีบางส่วนที่ต้องวิเคราะห์เพิ่มเติมในช่วงเช้า ส่วนช่วงบ่าย จะเป็นการร่วมกันวิเคราะห์ข้อเสนอร่วมกัน และคณะกรรมการสมัชชาฯจะปรับปรุงอีกครั้งในช่วงเช้า พรุ่งนี้อีกครั้งก่อนเสนอรัฐมนตรีฯ

เวทีเสวนาในช่วงบ่าย ดำเนินรายการโดยนางสาวเบญจวรรณ  เพ็งหนู   กรรมการบริหารสมัชชาฯ 

  1. ประเด็น : การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สถานการณ์และข้อเสนอภาคประชาชน 

             โดยนายกฤษฎา   บุญชัย   Thai Climate Justice for All

ปัญหาเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นเรื่องที่โยงใยกับทุกภาคส่วน สะท้อนความล้มเหลวของระบบทุนนิยมโลกที่ขับเคลื่อนด้วยอำนาจทุนนิยม สะท้อนว่าโลกเราจะเข้าสู่ยุควิกฤตยิ่งผลกระทบต่อลูกหลาน     ในอนาคต มันเชื่อมโยงความสัมพันธ์กับชีวิตและสุขภาพ และทำให้ประเด็นที่เราทำทั้งดิน น้ำ ป่า มีความซับซ้อนและรุนแรงมากขึ้น และเป็นโอกาสในการพลิกให้เกิดการแก้ปัญหาในทุกมิติ ดังนั้นเรื่องโลกร้อนจึงอยู่ในทุกอณู    ในฐานะที่อยู่ในสถาบันชุมชนท้องถิ่นเพื่อการพัฒนา ร่วมกับมูลนิธิเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยิน มูลนิธิอันดามัน เครือข่ายเกษตรและภาคีด้านพลังงาน เห็นว่าเราควรทำให้เรื่องโลกร้อนเป็นเรื่องที่เราสามารถเข้าใจได้ง่าย ไม่ใช่เรื่องของนักเทคนิค เนื่องจากกี่ยวเข้องกับเราทั้งหมด และหากมองจากภาคประชาสังคมเราจะมองต่างจากทุนนิยมอย่างไร

ข้อเสนอ

  1. กำหนดเป้าหมายแบบลดปริมาณก๊าซเทียบกับปีฐาน (ไม่ใช่ลดจากการคาดการณ์อนาคต) โดยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกตั้งแต่ปี ค.ศ. ๒๐๒๑ เป็นต้นไป ไม่ปล่อยสูงกว่าปี ค.ศ. ๒๐๑๙ ก่อนสถานการณ์โควิดแล้ว และกำหนดเป้าหมายลดการปล่อยสุทธิลงครึ่งหนึ่งภายในปี ค.ศ. ๒๐๓๐ และการปล่อยสุทธิในภาคการผลิตไฟฟ้าเป็นศูนย์ภายในปี ค.ศ. ๒๐๔๐ แล้วจึงลดปล่อยให้เป็นศูนย์ภายในปี ค.ศ. ๒๐๕๐
  2. แยกส่วนการนำเรื่องปลูกป่าฟื้นฟูป่า มาเบี่ยงเบนเป้าหมายการลดก๊าซภาคพลังงาน อุตฯ และเกษตรพาณิชย์
  3. ยุติการนำระบบตลาดคาร์บอน มาเบี่ยงเบนเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจก จัดการปัญหาความไม่เป็นธรรมสภาพภูมิอากาศและสังคม
  4. สร้างธรรมาภิบาล กระจายอำนาจระบบพลังงาน ยุติระบบผูกขาด และการพึ่งพาพลังงานฟอสซิลโดยด่วน และแทนที่ด้วยพลังงานหมุนเวียนที่ประชาชนมีส่วนร่วม
  5. ปฏิรูปภาคเกษตรกรรมจากเกษตรเชิงเดี่ยวสู่เกษตรนิเวศหรือเกษตรกรรมยั่งยืน
  6. ปฏิรูปการจัดการป่าโดยกระจายอำนาจสู่ชุมชนและสังคม (โดยไม่เอาคาร์บอนเครดิตมาแอบแฝง)
  7. อนุรักษ์ ฟื้นฟูระบบนิเวศทะเลและชายฝั่ง และทบทวนโครงการพัฒนาชายฝั่งให้อยู่บนแนวทางการพัฒนาที่ยั่งยืนและเป็นธรรมเป็นอันดับต้น
  8. จัดให้มีกฎหมายและกลไกและมาตรการภาคอุตสาหกรรม บัญชีรายชื่อการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ใช้เทคโนโลยีที่ดีที่สุด สนับสนุนผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดเล็ก ห้ามนำเข้าเศษวัสดุใช้แล้วและของเสียประเภทต่าง ๆ ลดปริมาณและจัดการของเสียภาคอุตสาหกรรม ส่งเสริมและกำกับให้คัดแยกและลดปริมาณของเสียจากชุมชนตั้งแต่ต้นทาง
  9. ให้ความสำคัญต่อการลดผลกระทบและส่งเสริมศักยภาพการปรับตัวของชุมชน เกษตร คนยากจน
  10. กำหนดนโยบายและยุทธศาสตร์การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่ตอบสนองต่อปัญหาในเพศที่แตกต่างอย่างเท่าเทียม ส่งเสริมความเข้มแข็งของผู้หญิง และกลุ่มเปราะบางต่างๆ และขยายการมีส่วนร่วมในนโยบาย
  11.  ส่วนราชการ รัฐสภาและมหาวิทยาลัยต่างๆ ควรดำเนินการเพื่อเป็นตัวอย่าง
  12.  รัฐบาลควรกำหนดนโยบายที่เอื้อให้ประชาชนร่วมรับผิดชอบต่อปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอย่างเป็นธรรม

สรุป หัวใจสำคัญคือการออกแบบแนวทางในการสร้างการเปลี่ยนแปลงควบคู่กับการแก้ปัญหาเชิงนโยบาย    สิ่งสำคัญคือนโยบายของภาครัฐ ตอบสนองการแก้ปัญหาอย่างไร ซึ่งเชื่อมโยงกับการจัดการป่าไม้ของประเทศไทย เนื่องจากเกี่ยวข้องกับคาร์บอนเครดิต

                  โดย นายณัฐวุฒิ อุปปะ  กรรมการบริหารสมัชชาองค์กรเอกชนฯ

    การเจรจากับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ที่เกี่ยวข้องกับป่าไม้ มีการเรียกร้อง สร้างกลไกในการจัดการป่าไม้ ข้อกังวลคือจะเป็นกระบวนการฟอกเขียวให้กับภาคอุตสาหกรรม โดยไม่แก้ที่ต้นเหตุในการลดคาร์บอน แต่ใช้การสนับสนุนเงินให้พื้นที่อื่นปลูกป่า ซึ่งไม่สามารถแก้ปัญหาโลกร้อนอย่างแท้จริง

    กลไกระหว่างประเทศ สู่ในประเทศที่รัฐบาลเจรจา ซึ่งเป็นข้อสมัครใจไม่ได้บังคับ จึงยังไม่สามารถกำหนดเป้าหมายในการลดคาร์บอนได้อย่างจริงจัง

    ในเรื่องของป่าไ ม้ เราต้องการเพิ่มพื้นที่ป่า ๒๖ ล้านไร่ ซึ่งเครื่องมือที่ใช้คือมาตรการทวงคืนผืนป่า ส่งผลให้เกิดความขัดแย้งกับประชาชนซึ่งสามารถยึดคืนได้ไม่มาก จึงเป็นที่กังวลว่าจะมีนโยบายทวงคืนผืนป่าครั้งใหญ่อีกหรือไม่ และผลประโยชน์จะลงสู่ชุมชนได้แค่ไหน  และผู้ที่ได้รับประโยชน์คือชุมชนที่มีสิทธิในที่ดินนั้นๆ แต่ในประเทศไทยชุมชนยังอยู่ในสถานะเป็นผู้ใช้ประโยชน์ในพื้นที่รัฐ ซึ่งบางพื้นที่ไม่สามารถปลูกป่าไม้ถาวรได้ ปลูกแค่ไร่หมุนเวียน และมีการพัก รอการฟื้นตัว ซึ่งดูดซับคาร์บอนได้มากแต่ยังไม่มีการยอมรับจากภาครัฐ และ เราไม่เห็นด้วยกับคาร์บอนเครดิต เนื่องจากชุมชนยังไม่มีสิทธิในที่ดิน จึงไม่ได้รับประโยชน์

 เรื่องกฎหมายป่าไม้ที่ดิน ยังไม่ได้รับการปรับปรุงแก้ไข จนกระทั่ง หลังปี ๕๗ เสนอปรับปรุงนร่างกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ทั้งพรบ.อุทยานฯ พรบ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าฯและพรบ.ป่าชุมชน  ซึ่งในหลักการสำคัญเชื่อมโยงกับรัฐธรรมนูญฉบับปรับปรุงซึ่งดทอนสิทธิชุมชน และกำนหนดเป็นหน้าที่ของรัฐ ในพรบ. ๓ ฉบับจึงไม่มีการรับรองสิทธิชุมชนด้วย

     สถานะของชุมชนจึงเปลี่ยนจากการอยู่ก่อนประกาศ มาเป็นผู้บุกรุกโดยมิได้มีกระบวนการพิสูจน์ข้อเท็จจริงจากหลักฐานดั้งเดิม และในเนื้อหาของพรบ.อุทยานฯ ต้องขออนุญาต เฉพาะชนิด  จากอุทยานฯ เปลี่ยนรูปแบบการผลิตแบบวนเกษตร ทั้งๆที่มีรูปแบบที่หลากหลายมากกว่านั้น

     หน่วยงานมักกล่าวอ้างว่าชุมชนสามารถอยู่ในเขตอุทยานได้อย่างถูกกฎหมายแต่ไม่เกิน ๒๐ ปี         ซึ่งกระทบกับกลุ่มชาวเล ที่อาศัยและพึ่งพาทรัพยากร

ข้อเสนอ

  • ปรับแก้พรบ. ได้แก่ พรบ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าฯ พรบ.อุทยานแห่งชาติ และพรบ.ป่าชุมชน
  • ควรมีการทบทวนพรบ.ทั้ง ๓ ฉบับ
  • รัฐธรรมนูญปี ๖๐ ปรับแก้ เรื่องสิทธิต้องไม่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของรัฐ 
  • มีกลไก นิรโทษกรรม มีการชดเชยเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบในช่วงนั้น
  • กลไกการเงินระหว่างประเทศ ต้องเข้าสู่สาธารณะและกระจายให้ชุมชนได้รับประโยชน์

๓.ประเด็น : ระบบนิเวศชุมชน ฐานชีวิต การกินดีอยู่ดี และ การเผชิญวิกฤตเศรษฐกิจและโรคอุบัติใหม่

     โดย นายปิยะ  พวงสำลี  กรรมการบริหารสมัชชาองค์กรเอกชนฯ

เรื่องสิทธิชุมชน  ชุมชนมีความพร้อมในการจัดการระบบนิเวศของชุมชน มีหลายชุมชนที่มีการจัดการระบบนิเวศ ๗ พื้นที่

  • ป่าชายเลน  ที่เปร็ดใน จ.ตร่ด
  • ชายฝั่งทะเล จ.กระบี่
  • นิเวศป่า จ.เชียงใหม่
  • นิเวศป่า  จ.เชียง
  • พื้นที่ชุ่มน้ำ ลำเซบาย จ.ยโสธี
  • แม่น้ำอิง จ.เชียงราย
  • คอกระจง 

เป็นการพัฒนาองครวมในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ โดยชุมชน เพื่อชุมชน เพื่อให้เกิดเศรษฐกิจฐานราก กระจายอยู่ทั้ง ๗ พื้นที่ มีความสำคัญ ที่ช่วยชุมชนในช่วงวิกฤติ โควิด โดยพิสูจน์ว่าพื้นที่ที่มีการปกป้อง อนุรักษ์ เป็นความมั่นคงด้านอาหารและเศรษฐกิขจฐานราก

ข้อเสนอ

  • ให้สิทธิชุมชนในการจัดการทรัพยากรของตัวเอง
  • ต้องมีการกำหนดกติกาโดยชุมชนเพื่อให้เกิดความยั่งยืน

เช่นเปร็ดใน มีการจัดการทรัพยากรป่าชายเลนอย่างยั่งยืน โยงความมั่นคงด้านอาหารและเศรษฐกิจฐานราก และกระบวนการมีส่วนร่วมมีความสำคัญมาก ชุมชนในพื้นที่จังหวัดกระบี่ เข้าใจความสำคัญของทรัพยากรและการอนุรักษ์มากขึ้น

๔) ประเด็น : ฝุ่นและหมอกควัน ข้อเสนอเพื่อสิทธิในสิ่งแวดล้อมและลมหายใจ

               โดยนายชัชวาล ทองดีเลิศ : ประธานสภาลมหายใจเชียงใหม่

ปัญหาฝุ่นเกิดจากไฟ   

  • ไฟในเมือง การคมนาคมขนส่ง อุตสาหกรรม การก่อสร้าง
  • ไฟนอกเมือง เกษตร  พืชเชิงเดี่ยว ป่าอนุรักษ์ และป่าสงวน พื้นที่ไหม้เยอะสุด คือป่าอนุรักษ์และสงวน
  • ไฟจากประเทเพื่อนบ้าน จากการปลูกพืชเชิงเดี่ยว 

มีคนตายจาก PM๒.๕ ปีละ สี่หมื่นคน เศรษฐกิจเกิดฤดูหมอกควันในช่วงฤดูกาลท่องเที่ยว และปัญหาคือความไม่เป็นธรรมทางสิ่งแวดล้อม คนจนถูกจับ เช่นกลุ่มชาติพันธ์ แต่ในขณะที่นายทุนรอด

กระแสของสังคม พลังจากภาคประชาชน ชุมชน มีความสำคัญ มีการเรียกร้องให้ใช้พลังงานสะอาด และมีแนวโน้มในการพูดคุยกันมากขึ้น ในขณะที่มีการขยายตัวการปลูกข้าวโพดรุนแรงขึ้น

ละเมิดสิทธิชุมชน ความขัดแย้งเรื่องที่ดินทำกิน  พื้นที่เหล่านี้ถุกจำกัดสิทธิในการพัฒนาและเป็นจำเลย เกิดจากการรวมศูนย์อำนาจในการดำเนินการจัดการ

นโยบายพลังงานสะอาด

ข้อเสนอ เชิงนโยบาย

  • นโยบายพลังงานสะอาด รถยนต์ไฟฟ้า โรงงานปลอดมลพิษ
  • นโยบายเศรษฐกิจสีเขียว ควบคู่กับนโยบายเศรษฐกิจฐานราก นโยบายลดพื้นที่เกษตรกรรมเชิงเดี่ยวและเพิ่มพื้นที่เกษตรกรรมยั่งยืนที่สอดคล้องแต่ละภูมินิเวศ นโยบายการจัดการที่ดินมั่นคง/lทธิชุมชน
  • นโยบายการจัดการน้ำอย่างยั่งยืน
  • การจัดการป่าอย่างยั่งยืนกฎหมายการบริหารอากาศสะอาด
  • นโยบายกระจายอำนาจ ชุมชน อปท.ป้องกันและแก้ไขปัญหาที่สอดคล้องกับบริบทพื้นที่

ทางออกอนาคตที่ยั่งยืน

  • จัดระบบทรัพยากรธรรมชาติใหม่/เป็นธรรม/สมดุลย์ยั่งยืน
  • อากาศสะอาด ป่าสมบูรณ์ ที่ทำกินมั่นคง เมืองสิ่งแวดล้อมยั่งยืน
  • สิทธิชุมชนอยู่ร่วมจัดการป่า ไฟ ฝุ่นควันยั่งยืน พลังงานสะอาด ลดโลกร้อน
  • เศรษฐกิจสีขียว หมุนเวียน พึ่งตนเอง
  • ธุรกิจเพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อม การผลิตที่ยั่งยืน มีความมั่นคงทางอาหาร พึ่งตนเองและพึ่งกันและกัน ลดความยากจน/เหลื่อมล้ำ
  • สุขภาพดี มีสวัสดิการสังคมตั้งแต่เกิดจนตาย
  • การศึกษาที่หลากหลายมีคุณภาพ/สร้างพลเมืองที่เข้มแข็ง
  • การบริหารจัดการตนเอง เลือกตั้งผู้ว่า มีสภาพลเมือง
  • การพัฒนาที่สอดคล้องกับต้นทุนและบริบทเชียงใหม่
  • นโยบาย/กฎหมายกระจายอำนาจ สนันสนุนความเข้มแข็งชุมชน พลเมือง และประชาสังคม แก้ปัญหาสอดคล้องกับบริบทื้นที่

) ประเด็น : ขยะพิษและมลพิษอุตสาหกรรม ผลกระทบและข้อเสนอ

                โดย นางสาวเพ็ญโฉม แซ่ตั้ง : ผู้อำนวยการมูลนิธิบูรณะนิเวศ

          เรื่องขยะพิษจากอุตสากรรมเป็นประเด็นพื้นฐานที่รุนแรงและส่งผลกระทบในวงกว้าง มีการลักลอบขนกากและทิ้งกากอนตรายในประเทศที่ สาม จากสหรัฐอเมริกา

พื้นที่ที่มีการลักลอบทิ้งกากอุตสาหกรรม อยู่กระจายหลายพื้นที่ทั้งฝั่งตะวันออกและ ลามไปถึงเพชรบุรี ราชบุรีและกาฐจนบุรี  กระจายไปทั่วประเทศ

ลักษณะปัญหาและประภทขยะอันตรายที่พบบ่อย

  • ลอลฝังภายในโรงงานอย่างผิดกฎหมาย เก็บในพื้นที่โรงงานอย่างผิดกฎหมาย
  • ลอบทิ้งตามสถานฝังกลบ

ข้อเสนอสำหรับชุมชนและทสม.

ข้อเสนอเฉพาะหน้า

๑) สร้างและขยาย

“เครือข่ายในการเฝ้าระวังการลักลอบทิ้งกากของเสียอันตราย”

๒) ติดตามเฝ้าระวัง

– การแจ้งเหตุการประสานหน่วยงาko

– การติดตามการแก้ปัญหา

๓) มีการฝึกอบรมให้ความรู้

การใช้แนวทางวิทยาศาสตร์ภาคพลเมืองมาเสริมศักยภาพของท้องถิ่น

๔) ผลักดันให้เกิดพื้นที่ตัวอย่างของการฟื้นฟูที่ปนเปื้อนมลพิษ

ข้อเสนอระดับนโยบายและกฎหมาย

๑) การปรับโครงสร้างอำนาจ

๒) ยกเลิกอำนาจหน้าที่ที่ทับซ้อนของ กรอ.

๓) ในการส่งเสริมอุตสาหกรรมและการกำกับดูแลมลพิษอุตสาหกรรม

) ประเด็น : ทะเล ชายฝั่ง ขยะทะเล การประมงที่ยั่งยืนและจะนะเมืองแห่งสันติสุข

               นายปิยะ เทศแย้ม : นายกสมาคมสมาพันธ์ประมงพื้นบ้าน

ข้อเสนอของสมาคมสมาพันธ์ชาวประมงพื้นบ้านแห่งประเทศไทย

ข้อเสนอ

  1. รัฐต้องมีการควบคุมการจับสัตว์น้ำเศรษฐกิจวัยอ่อน โดยเริ่มจากสัตว์น้ำเศรษฐกิจที่สำคัญ เช่น ปลาทู ปลาลัง ปลากุเลา ปลาอินทรี ปลาจะละเม็ด ปลาสาก ปลาหลังเขียว ปูม้า เป็นต้น และต้องมีการกำหนดชนิด ขนาด และเงื่อนไขการจับสัตว์น้ำชนิดนั้น ๆ ที่สามารถจับขึ้นเรือประมงได้
  2. รัฐบาลควรปรับปรุงระบบการบริหารจัดการค่าการจับสัตว์น้ำสูงสุดอย่างยั่งยืน หรือ MSY โดยเปลี่ยนโควตาการจับสัตว์น้ำของประมงพาณิชย์ที่กำหนดให้ทำการประมงจำนวน ๒๔๐ วันในรอบ ๑ ปี เป็นกำหนดการทำประมงจากจำนวนน้ำหนักของสัตว์น้ำที่ได้จากการประมง 
  3. รัฐบาลควรมีนโยบายห้ามส่งออกผลผลิตปลาป่นจากการประมงไปนอกประเทศ เพราะผลผลิตปลาป่นอาจทำมาจากสัตว์น้ำวัยอ่อน
  4. รัฐต้องควบคุมเรือประมงพาณิชย์ที่ใช้เครื่องมืออวนล้อมจับหรือใช้อุปกรณ์ปั่นไฟและอวนตาเล็กจับสัตว์น้ำ รวมถึงเรือประมงพาณิชย์ที่ใช้อวนลากคู่ทำการประมง โดยการแบ่งเขตทำการประมงและให้เรือประมงพาณิชย์ที่ใช้อวนลากคู่ทำการประมงในพื้นที่ห่างจากชายฝั่งทะเล ๑๕ ไมล์ทะเล
  5. ภาครัฐ หน่วยงาน และองค์กรด้านการส่งเสริมสุขภาพ ควรสนับสนุนผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำทะเลคุณภาพและรับรองมาตรฐานสัตว์น้ำทะเลของชาวประมงพื้นบ้าน โดยสนับสนุนการบริหารจัดการผลผลิต การตลาด จัดตั้งกลุ่มจัดการผลผลิตสัตว์น้ำในชุมชน มาตรฐานการประมงพื้นบ้านยั่งยืน และการสื่อสารกับผู้บริโภค
  6. การส่งเสริมการดำเนินกิจกรรมฟื้นฟู อนุรักษ์ พัฒนาทรัพยากรประมง การกำจัดขยะในชุมชนประมงและเรือประมง การส่งเสริมการใช้พลังงานหมุนเวียน การเฝ้าระวังภัยพิบัติธรรมชาติและเตรียมความพร้อมรับมือสถานการณ์ใหม่ๆ

                    ๖.๑ การส่งเสริมการอนุรักษ์ ฟื้นฟู ทรัพยากรประมง

๖.๒ แผนงานส่งเสริมการจัดการขยะทะเลต้นทาง

๖.๓ แผนงานด้านการส่งเสริมการใช้พลังงานหมุนเวียน

๖.๔ แผนงานเฝ้าระวังภัยพิบัติธรรมชาติและเตรียมความพร้อมรับมือสถานการณ์ใหม่ๆ

) ประเด็น : พลังงาน ข้อเสนอเพื่อก้าวข้ามถ่านหินและน้ำมันไปสู่พลังงานหมุนเวียนที่เป็นธรรม

       โดยนายศุภกิจ นันทะวรการ : นักวิจัย มูลนิธินโยบายสุขภาวะ

อุตสาหกรรมฟอสซิล ถ่านหิน น้ำมันเป็นภัยต่อโลกมากขึ้น และหาแนวทางแก้ปัญหาให้ลองนึก พลังงานเป็นเรื่องเทคนิคหรือประเด็นทางสังคม

พลังงานเป็นเรื่องผลประโยชน์มหาศาล  หากเราใช้พลังงานหมุนเวียน สร้างงานมากกว่าเป็น ร้อยเท่า สร้างงานเป็นหมื่นตำแหน่ง ในพลังงานหมุนเวียน ประมาณ ๕ หมื่นตำแหน่งในแต่ละอำเภอ

ถ่านหิน หมดยุคแล้วแต่ต้องเร่งให้หยุดและปิดโดยเร็ว โรงไฟฟ้าถ่านหิน ไม่คุ้มค่าทางเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อมและสังคม แต่ยังมีโรงไฟฟ้าและบางอุตสาหกรรมใช้ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิงอยู่ จึงต้องเร่งให้หยุด และเปลี่ยนพลังงาน ประเทศไทยเลิกถ่านหินทั้งหมดในภาคการผลิตไฟฟ้าภายในปี ๒๕๘๐ และควรเร่งเลิกภายใน ๒ ปี

สรุปข้อเสนอต่อสังคม และภาครัฐ

. ข้อเสนอต่อพวกเราและสังคมไทย

  • ช่วยกันหยุดการขยายฟอสซิล โดยเฉพาะก๊าซ และผลักดันการเลิกฟอสซิลทั้งหมด
  • ลงมือทำพลังงานสะอาด ให้เป็นขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมที่หลากหลาย (movements)
  • ติดตามตรวจสอบ และแก้ไขวิกฤตธรรมาภิบาลสิ่งแวดล้อมและพลังงาน

. ข้อเสนอต่อกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

  • การขับเคลื่อนเศรษฐกิจ BCG ควรรวมไปถึงการพัฒนาพลังงานสะอาดที่ประชาชนเป็นเจ้าของ
  • เปลี่ยนมาตรฐานมลพิษให้เข้มงวดมากขึ้น ตามมาตรฐานโลก โดยเฉพาะที่เกี่ยวกับฟอสซิล

. ข้อเสนอต่อหน่วยงานด้านเศรษฐกิจ

  • การพึ่งพาฟอสซิล ที่ยังเพิ่มมากขึ้น เป็นภาระทางเศรษฐกิจมากขึ้นเรื่อยๆ ความเสี่ยงจากการนำเข้า
    และอาจกลายเป็นสินทรัพย์จำนวนมากที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (stranded assets)

ผู้เข้าร่วม : แลกเปลี่ยน

๑) นายอะเหร็น  พระคง    อยากให้เห็นความสำคัญของสัตว์ทะเลหายาก โดยเฉพาะพะยูน ซึ่งมีอยู่ในหลายพื้นที่จังหวัดตรัง ซึ่งมีปัญหาไม่มีการสนับสนุนงบประมาณค่าน้ำมัน ทำให้การตายของพะยูน เพิ่มขึ้น

๒) อยากให้นำเสนอปัญหาขยะกากของเสียอันตรายและสถานการณ์ประมง แก่รัฐมนตรีและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

๓) ข้อเสนอเชิงนโยบายเห็นด้วยกับทุกอย่าง เน้นย้ำให้ชุมชนเป็นเจ้าของทุกระบบและทุกมิติของระบบนิเวศ เนื่องจากชุมชนในแต่ละพื้นที่มีความแตกต่างกันในหลายมิติทั้งภาคประชาชน นักวิชาการ และอื่นๆ

๔) คุณเรวดี  ประเสริฐเจริญสุข อยากให้นำเสนอภาพรวม รับปรุงเอกสารให้มีการเกริ่นนำก่อนเชื่อมโยงปัญหาในทุกมิติ เนื่องจากมีความสัมพันธ์ทุกมติ หากกระแสการพัฒนาเน้นการขยายตัวทางเศรษฐกิจและใช้ททรัพยากรดินน้ำป่า ในทุกมิติอยากให้หลักคิดในเชิงใหญ่ต้องทำให้ชัดเจน สิ่งที่ต้องชูคือหน่วยงานภาครัฐต้องกระจายอำนาจและมีส่วนร่วมมากขึ้น กฎหมายที่เห็นชัดเจนเช่นกฎหมายอุทยานฯ การยกเลิก EEC cละอื่นๆ

๕) นายปิยะ  เทศแย้ม : เราไม่เชื่อมั่นในภาครัฐ แต่เชื่อมั่นว่าทุกคนที่มาให้ห้องนี้ สามารถร่วมกันสร้างให้สังคมรับรู้ เนื่องจากการเมืองเป็นเรื่องของผลประโยชน์ เราต้องใช้พลังชุมชนในการกดดัน  โบกอยู่ได้โดยไม่มีเรา เราต้องช่วยตัวเราเองมากกว่า

๖) นายชัชวาลย์    ทองดีเลิศ :   ระบบรัฐรวมศูนย์  เป็นแท่งๆ และเราทำคนละประเด็น ต่างคนต่างทำ ไม่สามารถแก้ได้ เราต้องยกระบบโลกร้อนและกระบวนการจัดการพัฒนาที่ยั่งยืน ต้องเปลี่ยนเป็นอีเวนท์ เป็นมูฟเม้น ทำให้เรื่องของเราเป็นประเด็นสาธารณะให้ทุกคนมีส่วนร่วม มองเห็นปัญหาเดียวกัน  ลดโลกร้อนและทรัพยากรธรรมชาติที่ยั่งยืน เชื่อมโยงกับการจัดการทรัพยากรที่เป็นธรรมและลดความเหลื่อมล้ำ

๗) กากอุตสาหกรรม สะท้อนความไม่เป้นธรรมของการพัฒนา การเลือกการพัฒนาอย่างยั่งยืนหรือการขยายภาคอุตสาหกรรม นั้นเราต้องเปลี่ยนระบบคิดและวิธีคิดให้นำไปสู่เป้าหมาย

ระดับโลก

  • ที่ทำงานอย่างมีความหวัง โดยสหประชาชาติออกรายงานว่าการที่หวังจะปลูกป่า ดักจับคาร์บอนมาแก้โลกร้อน ผิดทาง เราต้องหยุด และเลิกผลิตการใช้ฟอสซิลให้เร็วที่สุด
  • ภูมิปัญญาท้องถิ่น การมีส่วนร่วมของชทุชน โดยเฉพาะคนที่ด้อยโอกาสที่สุด

ระดับประเทศ 

  • ภาคธุรกิจที่อยากแก้ปัญหาจริงๆก็มีบ้างในประเทศไทย เรามีทรัพยากรน้อย  น้อยต้องบริหารจัดการทรัพยากรเพื่อลูกหลานของเราในอนาคต

๘) นายหาญณรงค์  เยาวเลิศ :   บริษัทใหญ่ที่ทำเรื่องพลังงาน ได้รับเงินสนับสนุนจากการเซนต์สัญญาโดยที่ไม่จำเป็นต้องสร้างเขื่อนอีกต่อไป ซึ่งส่งผลกระทบต่อประชาชน

  • โครงการผันน้ำแม่ฮ่องสอน
  • มหาลัยได้งบประมาณทำเรื่องการมีส่วนร่วมของประชาชน
  • บริษัทร่วมทุนครั้งแรก ได้รับงบไปศึกษาการสร้างโรงไฟฟ้า  

๙) คุณเรวดี  ประเสริฐเจริญสุข

  • การรับรองสิทธิชุมชนในการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
  • ลดความเหลื่อมล้ำ ความไม่เท่าเทียม ทั้งในเพศสภาพที่แตกต่างโดยเฉพาะผู้หญิงที่ได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
  • เสนอให้ส่งเสริมชุมชนปรับปรุงรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศให้เป็นรูปธรรมมากขึ้น

๑๐) เครือข่ายน้ำโขงภาคอีสาน

  • ปัญหาการสร้างเขื่อนในแม่น้ำโขง และประเทศเพื่อบ้านและแม่น้ำ
  • การจัดทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมจากประเทศเพื่อนบ้าน ที่ส่งผลกระทบต่อแม่น้ำโขง
  • ทำอย่างไร ให้กระทรวงทรัพย์เจรจาให้ครอบคลุมพื้นที่แม่น้ำโขงและแม่น้ำระหว่างประเทศ

สรุปการเสวนาช่วงบ่าย : นายภาคภูมิ  วิธานติรวัฒน์ ประธานสมัชชาฯ

สิ่งที่ได้ในวันนี้คือการแลกเปลี่ยนข้ามเครือข่าย และการขับเคลื่อนให้เกิดกระบวนการทางสังคม ชัดเจนแล้วว่าเรื่องอุณหภูมิที่เพิ่มขึ้นเป็นเรื่องส่วนร่วมที่ต้องช่วยกันแก้ปัญหา หนึ่งในข้อเสนอต่อกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม คือ การสนับสนุนการเคลื่อนไหวขับเคลื่อนของภาคประชาชน เนื่องจากมีสถานะเป็นหุ้นส่วนของการพัฒนา การขับเคลื่อนในระดับพื้นที่ เครือข่ายที่ผ่านมาก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงหลายประการ จึงควรปรับปรุงกองทุนสิ่งแวดล้อมเพื่อสนับสนุนการขับเคลื่อนของเครือข่าย มีหลายประเด็นที่เกี่ยวข้องกับหลายกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และในส่วนประเด็นอื่นที่เกี่ยวข้องกับกระทรวงอื่นๆใช้การส่งผ่านนายกรัฐมนตรี เพื่อให้ดำเนินการ 

ข้อเสนอรวม 

  • ปฏิรูปการเป็นหุ้นส่วนการพัฒนา จึงต้องปฏิรูปกองทุนสิ่งแวดล้อม
  • การเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิโลกแป็นเรื่องที่ละเลยไม่ได้และต้องทำทันที และลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนจากอัตราการปล่อยในปัจจุบัน เช่นการใช้พลังงานแสงอาทิตย์ในครัวเรือน
  • ความยุติธรรมและความเป็นธรรมด้านสิ่งแวดล้อม ในการพูดถึงการลดการปล่อยคาร์บอนของอุตสาหกรรมไม่ใช่การผลักภาระให้คนอื่นในการปลูกป่าทดแทน
  • การดูเชิงระบบนิเวศที่สัมพันธ์กับฐานวิถีชีวืต
  • การกระจายอำนาจในส่วนของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่กระทรวงรับผิดชอบ
  • ประเด็นธรรมาภิบาล และความเป็นธรรมด้านสิ่งแวดล้อม
  • ประเด็นพื้นที่ชุ่มน้ำ

๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐


[1] บันทึกผลการประชุมโดย เจ้าหน้าที่ประสานความร่วมมือและพัฒนาเครือข่าย กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม

    

Pages: 1 2